fbpx

ตามปกติเป็นที่เชื่อกันว่าไม้อัดเคลือบฟิลม์ที่ดีจะต้อง ผลิตจากไม้วีเนียร์ประเภทไม้เนื้อแข็ง ใช้กาวกันน้ำประเภท WBP Phenolic Resin ใช้ฟิลม์ที่มีคุณภาพ เช่นฟิลม์สีน้ำตาลเข้มของ DYNEA ผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐานในการผลิต-ควบคุมสูง

บทความนี้ จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจมากขึ้น ในรายละเอียดของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของไม้อัดเคลือบฟิลม์

  1. ไม้วีเนียร์ ที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นไม้วีเนียร์ที่ เต็มแผ่น ไม่มีรอยต่อเพื่อความแข็งแรงของแผ่นไม้อัด และไม่มีรูกลวงหรือไส้ไม่เต็มซึ่งจะมีผลต่อการใช้งานของไม้อัดเคลือบฟิลม์นั้น
    ชนิดของไม้ – ผู้ผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์ที่มีคุณภาพจะเลือกใช้แต่ไม้เนื้อแข็งปานกลางขึ้นไป เช่น ไม้Birch หรือไม้ยูคาลิปตัสเนื่องจากไม้ดังกล่าวมีความแข็งแรงและราคาไม่สูงมาก ส่วนไม้ชนิดอื่นๆที่มีเนื้ออ่อน เช่นไม้สนหรือไม้ Poplarก็สามารถนำมาใช้ผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์ได้เช่นกัน แต่คุณภาพอาจดีไม่เท่ากับไม้เนื้อแข็ง
  2. ชนิดของกาว ในการผลิตไม้อัดมีกาวที่นิยมใช้กันดังนี้ WBP-Phenolic Glue เป็นกาวที่ดีที่สุด สามารถทนได้ทั้งน้ำและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ​สามารถผ่านการทดสอบด้วยการนำแผ่นทดสอบไปต้มในน้ำเดือดเป็นเวลา 48 ชั่วโมง กาวชนิดนี้จึงเหมาะที่จะนำมาผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์ เพราะในขณะที่คอนกรีตกำลังเซ็ตตัวนั้นจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนออกมามากมาย การใช้กาวที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวย่อมมีผลต่อแผ่นไม้อัดเคลือบฟิลม์อย่างแน่นอน
  3. เนื้อฟิลม์ แน่นอนว่าหากสังเกตด้วยตาเปล่าอาจไม่รู้ว่าเนื้อฟิลม์ที่ดีนั้นต้องมีลักษณะอย่างไร แต่ในอุตสาหกรรมผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์จะรู้กันว่าฟิลม์ที่เป็น100% Phenolic Resin glueนั้นจะมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในการป้องกันน้ำและการกัดกร่อนจากน้ำปูน จึงช่วยยืดอายุการใช้งานได้มากครั้งกว่า และทำให้งานหล่อคอนกรีตที่ได้มีความเรียบ ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณกว่าอีกด้วย
  4. กระบวนการผลิต ในการผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์ที่ดี จะต้องมีการควาบคุมทั้งคุณภาพของวัตถุดิบ การผลิตไม้วีเนียร์ที่มีความหนาบางสม่ำเสมอ การอบไม้วีเนียร์ที่มีมาตรฐานและการอัดด้วยเครื่องอัดที่ใช้ความดันและความร้อนเพื่อทำให้ได้ไม้อัดเคลือบฟิลม์ที่มีคุณภาพสูงที่สุด
  5. ความเรียบของแผ่นไม้อัด ก่อนทำการเคลือบด้วยฟิลม์ ไม้อัดทุกแผ่นจะต้องผ่านการแคลิเบรทเพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม้ทุกแผ่นมีความหนาที่มาตรฐานเท่ากันทั่วทั้งแผ่นเพื่อเพิ่มการยึดเกาะของฟิลม์กับแผ่นไม้อัด มีผลทำให้เมื่อนำไปใช้งานย่อมทำให้ได้เนื้องานคอนกรีตที่เรียบเหมือนกระจก (mirror concrete results)
  6. การเคลือบขอบไม้ ด้วยสีน้ำมันหรือสารเคมีที่ป้องกันน้ำอย่างน้อย 2 เที่ยวเพื่อเพิ่มความต้านทานการซึมผ่านของน้ำด้านข้างและควรพ่นซ้ำเมื่อนำไปใช้งานแล้วเพื่อรักษาความสามารถในการต้านทานน้ำด้านข้างอยู่เสมอ

ไม้อัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้แผ่นบางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึง แผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวางในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยายและหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จากนั้นนำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดันนั้น นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย

กระบวนการผลิตไม้อัด
  • เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม
  • ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ (ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าวีเนียร์) ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8 -1.2 มม.
  • นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไปออก
  • (ขั้นตอนนี้ โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้) นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์ หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย จนได้หน้ากว้างประมาณ 1,240 มม.,ความยาวประมาณ 2,450 มม. และ หน้ากว้างประมาณ 2,450 มม., ความยาวประมาณ 1,240 มม.
  • นำวีเนียร์ที่ได้ ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม โดยมาวางเป็นชั้นๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย ( ที่ต้องวางสลับลายระหว่างชั้นเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในที่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ ) จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน
  • นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ขึ้น Hot Press (เครื่องอัดแรงดันสูง เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป ) อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาว

ข้อมูลจาก : paandcasecenter

ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ มีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งวันนี้ เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับชนิดของไม้ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์กันว่า มีไม้ชนิดไหนบ้าง แล้วแต่ล่ะชนิดมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปตัดสินใจในการเลือกซื้อ หรือเลือกทำเฟอร์นิเจอร์ได้

ไม้พาร์ติเกิ้ล บอร์ด (particle board)

สร้างมาจากเศษชิ้นไม้ เช่นชิปไม้ ขี้เลื่อย มาประสานกันโดยสารเคมี และนำมาทำการบดอัดด้วยความดันสูง
ข้อดี : ใช้ทดแทนไม้จริง , ราคาถูก , มีความแข็งแรง , น้ำหนักเบา
ข้อเสีย : ไม่ทนต่อความชื้น เมื่อโดนน้ำจะบวม และขึ้นรา

ไม้อัด (Plywood)

ประกอบด้วยแผ่นไม้บาง ๆ ที่ทำจากการปอกและฝานไม้ แล้วนำมาอัดทับกันเป็นแผ่น โดยมีลักษณะการวางในทิศทางสลับกันด้วยกาว แผ่นที่อยู่ผิวด้านนอกจะเป็นผิวไม้บางที่ฝานเป็นแผ่น ส่วนไม้ไส้ด้านในจะเป็นไม้ที่ได้จากการปอกการอัดชั้นขอไม้อัด
ข้อดี : แข็งแรง , ไม่บิดงอง่าย , กันปลวก , ทนความชื้น และกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง
ข้อเสีย : มีน้ำหนักมาก , ราคาสูง , กันน้ำในปริมาณมากไม่ได้

ไม้จริง (Wood)

ไม้เต็มแผ่น แต่ละประเภทของชนิดไม้ และวิธีการเลือกใช้นั้น แล้วแต่ลักษณะประเภทงาน
ข้อดี : แข็งแรง ทนทาน สวยงาม
ข้อเสีย : น้ำหนักมาก ราคาสูงมาก

ที่มา : scrwood

ไม้อัด นอกจากจะมีหลายชนิด และหลากหลายประเภทตามการใช้งานแล้ว ยังมี เกรดไม้อัด หลายเกรดให้เลือกใช้งานอีกด้วย ซึ่งแต่ล่ะเกรดก็จะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน แต่ในแต่ล่ะเกรดก็มีความเหมาะสมกับการใช้งานด้านต่างๆเช่นกัน ซึ่งจะมีเกรดอะไรบ้าง

ไม้อัดเกรด A

เป็นไม้อัดเกรดคุณภาพดีที่สุด มีผิวหน้าที่เรียบเนียน เนื้อไม้ด้านในแน่น ไม้เกรดนี้เหมาะที่จะนำมาทำงานก่อสร้างได้ เหมาะแก่การทำสี หรือปิดพื้นผิวต่างๆ หรือจะใช้โชว์ผิวไม้ก็ได้

ไม้อัดเกรด B

เป็นไม้อัดคุณภาพรองลงมาจากเกรด A ผิวไม้มีความเรียบน้อยกว่า เนื้อไม้มีความแน่นน้อยกว่า ไม้เกรดนี้ไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากจะได้งานคุณภาพที่ไม่ค่อยดี และนิยมใช้ในงานแพคกิ้ง หรืองานขนส่ง

ไม้อัดเกรด C

ไม้คุณภาพต่ำที่สุด ผิวไม้ไม่เรียบเนียน เนื้อไม้มีความหนาแน่นน้อยที่สุดเมื่อเที่ยบกับ 2 เกรด A และ B นิยมนำไปใช้ในงานขนส่ง งานแพคกิ้งสินค้า

เท่านี้ เมื่อเราทราบเกรดของไม้แต่ล่ะเกรดแล้ว เราก็สามารถเลือกเกรดของไม้ให้เหมาะกับการใช้งานได้ ซึ่งทางเรานั้นก็มีสินค้าไม้อัดทุกเกรดให้คุณลูกค้า ซึ่งทุกเกรดนั้นเรารับประกันคุณภาพ ทุกแผ่น ทุกเกรด

ที่มา : pova.co.th

การตัดไม้อัด อาจฟังเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถตัดได้ เนื่องจากไม้อัดเป็นไม้ที่ใช้งานง่าย มีขนาดที่ไม่หนาจนเกินไป แต่จริงๆ แล้ว การตัดไม้อัดออกมาให้ดี สวยงาม และไม้มีขนาดตรงตามขนาด ตามแบบ นั้นถือว่าเป็นงานยากพอสมควร หากยิ่งไม่มีทักษะด้านการตัดไม้ด้วยแล้ว อาจมีปัญหาตามมามากมาย ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่มักเกิดขึ้นเวลาตัดไม้อัด มีดังนี้

  1. ตัดไม้อัดไม่ตรง เบี้ยว ถือเป็นปัญหาหลักๆที่หลายคนมักเจอเวลาเริ่มตัดไม้ นั่นคือตัดแล้วไม้ไม่ตรง ไม้เบี้ยวหรือแหว่ง ทำให้งานออกมาไม่ตรง งานเบี้ยว ไม่สวยงาม
  2. ไม้เป็นขุย อีกปัญหาที่มักเจอบ่อยๆ คือ เมื่อตัดแล้วผิวไม้ด้านนอกแตกออก ทำให้ผิวไม้เป็นขุย ไม่เรียบ และเกิดเป็นเสี้ยนไม้
  3. ขนาดไม่ได้ ไม่ตรงตามแบบ ตามขนาด สืบเนื่องจากปัญหาข้อ 1 และ 2 อาจทำให้ต้องทำการตัดไม้ส่วนที่เสียออก หรือทำการแก้ไข อาจทำให้เนื้อไม้ส่วนที่จำเป็นหายไปได้

ปัญหาทั้ง 3 นี้ เป็นปัญหาหลักๆ ในการเริ่มต้นการตัดไม้อัด ถ้าเป็นมือใหม่ที่ไม่มีความชำนาญด้านการตัดไม้อัดที่มากพอ ปัญหาเหล่านี้ก็จะมีตามมาแน่นอน ซึ่งปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ ด้วยการสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ ฝึกความชำนาญ หาวิธี และอุปกรณ์ที่เหมาะสม หรือใช้บริการร้านค้าไม้ ที่มีบริการตัดไม้ เพื่อให้ได้ไม้ที่ตัดตรงตามแบบ และขนาดตามที่ต้องการพอดี และงานตัดออกมาสวยงาม

ทางโพวาของเรา นอกจากบริการสินค้า ด้านไม้อัด และวัสดุสิ้นเปลืองแล้ว เรายังมีบริการตัดไม้ ตามสเปคของลูกค้า สำหรับคุณลูกค้าที่ไม่มีเครื่องมือ หรือตัดเองไม่สะดวก หมดปัญหากับการเหนื่อยที่ต้องมาตัดไม้เอง เรามีบริการตัดไม้อัดตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ โดยทางเรายินดีส่งมอบไม้อัดคุณภาพดี พร้อมตัดไม้ในราคาถูก เราอยากให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสะบายและประหยัดที่สุด นอกจากนี้ยังมีบริการอัดไม้ และเจาะไม้อีกด้วย